ข้อมูลพื้นฐาน
บริหารส่วนตำบลท่าม่วง เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๑ ใน ๘ แห่งของอำเภอเทพา
สถานที่ตั้ง
     ตำบลทำม่วง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอเทพา ห่างจากตัวอำเภอเทพาประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดสงขลาประมาณ ๙o กิโลเมตร
อาณาเขต
    ตำบลท่าม่วง มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้
       ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
       ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลเปียน ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
       ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลท่าเรือ ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
       ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

เนื้อที่
     ตำบลท่าม่วง มีเนื้อที่ทั้งหมด ๙๑.๐๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๕๖,๘๘๘ ไร่ โดยแยกรายหมู่บ้าน ดังนี้ พร้อมแผนที่แสดงอาณาเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง
     ตำบลท่าม่วงเป็นตำบลที่จัดตั้งขึ้นมากว่า 100 ปีแล้ว ขณะนั้นตำบลท่าม่วงมีเพียง 4 หมู่บ้าน คือ บ้านท่าม่วง บ้านควนหรัน บ้านกระอาน และบ้านนาจวก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สงวนสำหรับเลี้ยงสัตว์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ทางกรมประชาสงเคราะห์ได้จัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้น เรียกว่า " นิคมสร้างตนเองเทพา " ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ของหมู่ที่ 3,5,9,13 และหมู่ที่ 6 บางส่วน รวมเนื้อที่ประมาณ 34,000 ไร่

     โดยได้จัดสรรที่ดินให้ประชาชนได้ทำประโยชน์ จำนวนรายละ 25 ไร่ เหตุที่ได้ชื่อว่าตำบลท่าม่วงมาจนบัดนี้ เพราะว่าสมัยก่อนการคมนาคมทางรถยนต์ รถไฟไม่มี การสัญจรไปมาต้องเดินด้วยเท้า การนำผลผลิตทางการเกษตรไปขายยังตลาด ต้องบรรทุกด้วยเรือล่องมาตามแม่น้ำเทพา เพื่อนำไปขายที่ตลาดเทพา (ที่ว่าการอำเภอเทพา) ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่บ้านพระพุทธในปัจจุบัน ชาวบ้านจึงนำผลผลิต มาลงเรือที่ท่าเรือซึ่งมีต้นมะม่วงขนาดใหญ่อยู่ ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกท่าเรือนั้นว่า "ท่าเรือต้นมะม่วง" ภายหลังได้เปลี่ยน มาเป็น "ท่าม่วง"

     ซึ่งท่าเรือดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าม่วงในขณะนี้และเหตุที่นำเอาชื่อบ้านท่าม่วง ตั้งเป็นชื่อของตำบลนั้น เนื่องจากในขณะที่จัดตั้งตำบลใหม่ขึ้นในสมัยนั้น กำนันคนแรกของตำบลเป็นคนในหมู่บ้านท่าม่วง กำนันคนนั้นจึงได้นำเอาชื่อของหมู่บ้านท่าม่วงมาตั้งเป็นชื่อของตำบล จึงเรียกว่าตำบลท่าม่วงมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันตำบลท่าม่วงได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลท่าม่วง ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่มที่ 113 ตอนที่ 9 ง ลงวันที่ 30 มกราคม 2539 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน โดยมีนายจ้วน อุ่นแดง เป็นประธานกรรมการบริหารคนแรก
วิสัยทัศน์
“โครงสร้างพื้นฐานดี เศรษฐกิจมั่นคง ชุมชนเข้มแข็ง”